เกมเมอร์สายหนังต้องรู้จักเขาดี ชีวิตพี่แกมันส์ดีจัง
อูเว โบลล์ นักทำหนังผู้ต่อยปากนักวิจารณ์
.
เมื่อผลงานที่ฟูมฟักมาชนิดเลือดตาแทบกระเด็น ดันมาโดนใครสักกลุ่มที่ไม่รู้จักมักคุ้นมาก่อน วางมาดว่ามีภูมิรู้อย่างดิบดี ใช้ปากและแป้นพิมพ์ถล่มหนังของเขาเสียเละเทะผ่านคำวิจารณ์... เป็นใครก็ต้องสะอึก
.
ในวันที่ 23 กันยายน 2006 อูเว โบลล์ (Uwe Boll) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวเยอรมัน มีโอกาสได้ทำในสิ่งที่ด้านมืดของจิตใจนักทำหนังหลายคนเรียกร้อง
.
เขากำลังจะต่อยปากคนเหล่านั้น
.
วาระแห่งการเอาคืนอย่างสาสมมาถึงแล้ว บนเวทีที่ถูกจัดเตรียมอย่างดี อูเวในชุดนักมวยที่เผยให้เห็นร่างกายสุดฟิต ย่างเท้าอย่างรวดเร็วด้วยความเกรี้ยวกราด ก่อนจะรัวหมัดใส่นักวิจารณ์หนังที่สลับขึ้นเวทีมาทีละคน เบ็ดเสร็จในคืนนั้นเขาจัดไป 4 คนรวด ทั้งหมดล้วนโดนถล่มจนพังพาบตั้งแต่ยกแรก บางคนถึงกับแทบคลานลงจากเวทีแล้วอ้วกก็พุ่งออกมา
.
วงการภาพยนตร์อาจจะมีวิวาทะระหว่างนักสร้างหนังกับนักวิจารณ์อยู่เป็นระยะ ด่ากันผ่านสื่อบ้าง เขม่นกันในระยะประชิดบ้าง แต่จะมีสักกี่หนที่จะได้ “แลกหมัด” กันให้หายคาใจไปข้าง อูเวอาจจะเป็นคนแรก ๆ ที่ได้ต่อยหน้านักวิจารณ์อย่างเป็นทางการ
.
และเมื่อสิ้นสุดอีเวนท์นี้ เขากล่าวอย่างผ่อนคลายว่า เจ้าพวกนั้นได้รับบทเรียนอย่างสาสม มันเป็นการปลดปล่อยในสิ่งที่เขารู้สึกว่า โดนอีกฝ่ายกระทำมาอย่างยาวนาน
.
แต่เรื่องทั้งหมดซับซ้อนกว่านั้น เรื่องนี้เขาอาจจะไม่ใช่ “เหยื่อผู้ได้ล้างแค้น” เสียทีเดียว
.
ตัวพ่อแห่งวงการหนังห่วย
.
หากย้อนกลับไปในหน้าประวัติศาสตร์ภาพยนตร์โลก นักทำหนังที่ขึ้นชื่อว่า “ห่วยที่สุดตลอดกาล” คือ เอ็ด วูด (Ed Wood) ผลงานระดับเลื่องชื่อคือ Plan 9 from Outer Space (1959) ทำให้คนดูถึงกับ “ลืมไม่ลง” ในความมั่วซั่วเละเทะ และดำรงตำแหน่งหนังเลวร้ายที่สุดเรื่องหนึ่งที่มนุษยชาติเคยสร้างมา
.
แต่แม้ปู่เอ็ดจะโดนครหาขนาดนั้น หลายคนต่างก็ยังยกย่องว่า ผลงานที่ออกมาย่ำแย่ก็เพราะความจำกัดจำเขี่ยของทุกอย่าง เงินทุนเอย งบประมาณเอย ตลอดจนถึงทักษะการทำหนัง แต่ไม่มีใครปฏิเสธว่าแท้จริงเขารักใคร่หลงใหลในภาพยนตร์เพียงใด และได้แต่หวังว่าจะถ่ายทอดผลงานให้คนดูได้ชื่นชอบบ้างสักวัน
.
ช่วงต้นยุค 2000s การปรากฏตัวของ อูเว โบลล์ หนุ่มใหญ่ชาวเยอรมัน ทำให้วงการหนังร่ำลือกันว่า “พวกเราได้ เอ็ด วูด คนใหม่แล้ว” เพราะผลงานของเขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังที่สร้างจากวิดีโอเกมอย่าง House of the Dead (2003), Alone in the Dark (2005) และ BloodRayne (2005) ทำแฮตทริคเป็นผลงานที่เข้าชิงรางวัล “หนังแย่แห่งปี” ติดต่อกัน (เรื่องแรกจาก Chainsaw Award ส่วนสองเรื่องหลังจาก Razzie Award) และได้รับสกอร์จากเว็บไซต์ Metacritics ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน 15, 9 และ 18 คะแนน ตามลำดับ เรียกว่าหากตัดเป็นเกรด ก็คงเป็นการติด F สามเทอมซ้อน
.
ตัวอย่างคำวิจารณ์ที่มีต่อหนังเหล่านี้ เช่น “โง่เง่าไปทุกอย่าง ทำไมไม่ส่งลงดีวีดีไปเลย มาฉายในโรงหนังทำไม”, “นี่คือหนังแอ็คชั่นสยองขวัญที่โง่ที่สุดและไม่มีอะไรดีสักอย่าง”, “การแสดงน่าหัวเราะเยาะมาก”, “ให้คะแนนต่ำกว่าศูนย์ได้ไหม” และ “นี่คือหนึ่งในหนังที่ห่วยที่สุดในยุคนี้”
.
ส่วนตัวเขา ก็รับคำก่นด่าแบบตรง ๆ มากมาย เช่น “อูเว โบลล์ นี่ฝีมือเชื่อใจได้จริง ๆ ในเรื่องการทำหนังให้ออกมาย่ำแย่”, “ถึงเวลาที่อูเวจะเลิกทำหนังได้แล้ว”, “คือไม่ได้มองข้ามความพยายามของเขานะ แต่เศษฟิล์มที่ติดอยู่ซอกฟันของคนที่เมามา 3 วัน ยังมีคุณค่าทางศิลปะภาพยนตร์กว่านี้” ฯลฯ
.
คำเชือดเฉือนเหล่านี้ทำให้ลูกโป่งแห่งความอดทนของอูเวเริ่มพองขึ้นเรื่อย ๆ เขากลายเป็นไอคอนของนักทำหนังห่วยแตกแห่งวงการไปแล้ว ที่สำคัญ พฤติกรรมบางอย่างในการทำหนังก็สร้างความสงสัยในหมู่คนดูว่า เจ้าตัวอาจไม่ได้รักใคร่ในภาพยนตร์แบบที่ เอ็ด วูด รัก
.
ด็อกเตอร์ ผู้กำกับ และนักมวย
.
อูเวเติบโตมาด้วยความชื่นชอบในภาพยนตร์ ดูหนังจำนวนมากตั้งแต่เด็ก หากไปดูในห้องของเขาจะพบว่าเก็บของสะสมเกี่ยวกับหนังเต็มไปหมด โดยเฉพาะโปสเตอร์และหนังสือเกี่ยวกับศิลปะการสร้างภาพยนตร์ สำหรับงานชิ้นโปรดที่ทำให้ตัดสินใจจะเป็นนักทำหนัง คือ Mutiny on the Bounty (1962) ผลงานผจญภัยสุดยิ่งใหญ่ที่เข้าชิงออสการ์ถึง 7 สาขา
.
จากนั้นเมื่อเข้ามหาวิทยาลัย เขากลายเป็นนักศึกษาด้านวรรณกรรม จบมหาวิทยาลัยโคโลญ และศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยไซเก้น ที่สำคัญ ดีกรีการศึกษาขั้นสูงสุดคือ จบปริญญาเอก
.
ใช่แล้ว ในวงการวิชาการ เขาคือ ด็อกเตอร์ อูเว โบลล์!
.
การศึกษากับผลงานไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กันเสมอไป หลังจากทำแฮตทริคเข้าชิงหนังแย่ 3 เรื่องซ้อน โบลล์คงเริ่มรู้ตัวแล้วว่ากลายเป็นไอคอนของอะไรบางอย่างที่ไม่น่าสบอารมณ์ เขาเริ่มหัวเสียกับบรรดานักวิจารณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ แทบไม่มีใครยืนอยู่ฝั่งเดียวกับเขา และส่วนใหญ่จะเน้นการผรุสวาท ลบหลู่ดูหมิ่น แถมบางคนยังเน้นด่าตามกระแสโดยที่เจ้าตัวยังไม่เคยได้ดูหนังของเขาสักเรื่อง
.
พออดรนทนไม่ไหว โบลล์จึงประกาศกร้าวว่าใครก็ตามที่เคย “เผยแพร่ผลงานวิจารณ์ที่ด่าเขาอย่างน้อย 2 ชิ้น” จะขอเรียนเชิญให้มา “ตั๊นหน้ากันบนเวทีมวย” ให้เป็นเรื่องเป็นราวซะ
.
การจัดแมทช์ “ผู้กำกับ vs. นักวิจารณ์” เกิดขึ้นในแวนคูเวอร์ แคนาดา และตัวของโบลล์ห้าวหาญถึงขนาดว่า จะให้นักวิจารณ์ (ออนไลน์) 4 คน ขึ้นชกกับเขาในคืนเดียวกัน เรียกว่าเสร็จธุระจากคนแรก คนที่ 2 คนที่ 3 และคนที่ 4 ก็เรียงหน้ามาเข้าคิวรอได้เลย (ที่จริง ยังมีนักวิจารณ์คนที่ 5 ด้วย แต่จะจัดการชกในประเทศสเปนหลังจากนั้นไม่กี่วัน) โดยเจ้าตัวขู่คำรามผ่านสื่อว่า แต่ละคนจะโดนอัดในระดับเลือดพุ่งอุจจาระราดแน่นอน และหวังว่าพวกนักวิจารณ์เหล่านั้นจะสมองกระเทือน จนกระทั่งไม่สามารถเขียนด่าอะไรเขาได้อีก
.
คนที่รับคำท้าจะมีเวลาเตรียมตัว 3 เดือนก่อนการประจันหน้าจะเริ่มต้น แต่สิ่งที่ถูกเปิดเผยในภายหลังก็คือ นักวิจารณ์แต่ละคนที่ตกปากรับคำมา รวมถึงผู้เกี่ยวข้องจำนวนหนึ่งกลับคิดว่า แมทช์นี้เป็นเพียง “โชว์สตันท์” เสมือนเป็นอีเวนท์เอาไว้เพื่อสร้างกระแสให้คนสนใจเฉย ๆ บางคนเพิ่งจะมารู้ช่วงงานใกล้เริ่ม ว่าโบลล์นั้นเคยเป็นนักมวยสมัครเล่นมาก่อน และฟิตซ้อมเพื่องานนี้แบบ “เอาตาย”
.
เบื้องหลังของงานนี้ที่หลายคนเพิ่งจะมารู้ก็คือ ทุกรายที่ถูกคัดเลือกให้มาร่วมชกด้วยนั้น แม้จะอายุน้อยกว่านับสิบปี แต่ขนาดของร่างกาย ความฟิตและการเปรียบมวย ถือว่าเป็นรองโบลล์ชนิดเทียบกันไม่ติด ส่วนคนที่เสนอตัวจะมาร่วมวงด้วย แต่ดูแล้วมีทักษะทางมวย พร้อมร่างกายแข็งแกร่งบึกบึน ก็จะถูกเมินเฉยจากทีมงาน
.
ถึงจะถูกประเมินอย่างเป็นเอกฉันท์ว่าทำหนังไม่ได้เรื่องได้ราวนัก แต่เรื่องเจ้าเล่ห์เพทุบายนั้น โบลล์ไม่เป็นสองรองใคร ไม่เฉพาะเรื่องแมทช์ชกมวย แต่ยังย้อนกลับไปอธิบายบางสิ่งในการทำหนังได้อีกด้วย
.
ทำหนังเจ๊ง แต่ได้กำไร
.
หนึ่งในความลับที่ถูกเปิดเผยในเวลาต่อมา ว่าทำไมผู้กำกับที่สร้างหนังแล้วถูกประณามรอบทิศทาง มิหนำซ้ำยังประสบความล้มเหลวในตารางบ็อกซ์ออฟฟิศเช่นเขา ถึงยังได้การสนับสนุนให้ทำหนังออกมาเรื่อย ๆ
.
คำตอบก็คือ อูเว โบลล์ ใช้ช่องโหว่ของระบบภาษีเยอรมัน (Loophole in German Tax Law) ในการดึงดูดเงินทุนสนับสนุน
.
เป็นที่ทราบกันดีว่าอัตราภาษีของเยอรมนีนั้นโหดมาก เงินทองที่หามาได้ในแต่ละปีจะถูกจัดเก็บเป็นภาษีชนิดมโหฬาร ดังนั้น หากใครสักคนหาวิธีการลดหย่อนภาษีได้ทีละเยอะ ๆ คนนั้นจะถือว่ามีกำไรจากระบบภาษี
.
สิ่งที่โบลล์ทำก็คือ ไปหาคนรวย ๆ มาร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพราะตามระบบภาษีเยอรมันช่วงนั้น รายได้ที่นำไปใช้ในการลงทุนสร้างหนังจะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีเลย และภาษีจะเริ่มนับหนึ่งต่อเมื่อหนังเรื่องนั้น ๆ ได้ผลกำไรกลับมา
.
นั่นแปลว่า หากมีนักธุรกิจที่รายรับอู้ฟู่ แต่ไม่อยากจ่ายภาษีเยอะ ก็เอาเงินส่วนนั้นมาลงทุนในหนังของบริษัทเยอรมัน (ที่อูเวตั้งขึ้นมา) และหากหนังเจ๊งก็ยิ่งดี (แต่ขอต้นทุนกลับมาบ้าง) เพราะไม่ต้องเอากำไรมาคำนวณภาษีอีก
.
ที่สำคัญ บางเจ้าแอบไปยืมเงินมาลงทุนในหนังเสียด้วยซ้ำ เพื่อจะได้แต่งบัญชีให้กลายเป็นส่วนลดหย่อนภาษีจากรายได้ส่วนอื่น ๆ เช่นนี้เอง หนังจากวิดีโอเกมจำนวนมากที่อูเวสร้างโดยใช้ทุนเยอรมัน จึงถูกส่งออกไปฉายในฮอลลีวูดชนิดไม่หยุดหย่อน ต่อให้มันจะเจ๊งแล้วเจ๊งอีกก็ตาม
.
เมื่อทำบ่อย ๆ เข้า เล่ห์กลของอูเวก็ถูกจับได้ และเยอรมนีก็เปลี่ยนแปลงระบบภาษีในส่วนดังกล่าว จนตัวเขาไม่สามารถใช้ประโยชน์จากช่องว่างภาษีมาดึงดูดเงินทุนสนับสนุนได้อีก
.
อย่างไรก็ดี ผลร้ายจากการทำหนังเพื่อหากินจากส่วนต่างภาษี และอยากจะให้มันเจ๊ง ๆ ไปซะ ทำให้คุณภาพของหนังออกมาเลวร้ายอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นความเคยชินที่จะทำภาพยนตร์ให้ออกมาย่ำแย่ไปเสียแล้ว ภายหลังจัดไฟท์กับนักวิจารณ์และเดินหน้าลุยสร้างหนังอีกสักพัก อูเว โบลล์ ก็ได้รับรางวัล “ผู้กำกับสุดห่วย” (Worst Director) บนเวทีออสการ์แห่งหนังแย่ Razzie Award ในปี 2009 จากการเข้าชิงควบในภาพยนตร์ 3 เรื่อง ได้แก่ Tunnel Rats (2008), In the Name of the King: A Dungeon Siege Tale (2007) และ Postal (2007)
.
และในวาระเดียวกันนี้เอง อูเว โบลล์ ยังได้รับรางวัล “เกียรติคุณความล้มเหลวแห่งชีวิต” (Worst Career Achievement Award) อันถือว่าดำรงตำแหน่ง “นักทำหนังแย่ที่สุด” ที่ยังมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบัน
.
ครั้งแรกของคำวิจารณ์ที่ดี
.
เมื่อทำหนังแล้วไม่สามารถทำเงินทำทองได้อย่างแต่ก่อน รวมถึงประสบความล้มเหลวด้านคำวิจารณ์ชนิดลุ้นไม่ขึ้น ในปี 2016 อูเว โบลล์ ได้ประกาศว่าจะยุติการสร้างภาพยนตร์ มันกลายเป็นข่าวที่กลุ่มคนรักหนังรู้สึกโล่งอก แต่อีกทางหนึ่งคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่คิดถึงบรรยากาศถล่มแหลกจากนักวิจารณ์ สำบัดสำนวนมากมายที่ถูกละเลงผ่านสื่อ คำเปรียบเปรยสุดแสบสันต์ และวิวาทะอันสุดระทึก ที่จะไม่มีอีกแล้ว
.
อย่างไรก็ตาม การปิดฉากชีวิตการทำหนังของอูเวโดยไม่ได้รับคำวิจารณ์ที่ดีแม้แต่เรื่องเดียว ไม่ได้หมายความว่าเขาจะหายตัวไปจากโลกใบนี้ หนุ่มใหญ่ผู้นี้ไม่ได้หมดอาลัยตายอยากหรือยกธงขาวยอมแพ้แต่อย่างใด หากแต่เบนเข็มไปทำอย่างอื่นที่ดูท่าจะรุ่งมากกว่า นั่นคือ เปิดภัตตาคาร
.
นอกเหนือจากหนัง เขามีความรักในการหาร้านอาหารดี ๆ เสมอ และเมื่อถึงวันอัสดงจากธุรกิจภาพยนตร์ อูเวเลือกที่จะเป็นเจ้าของร้านอาหาร โดยสั่งสมประสบการณ์จากการตระเวนชิมภัตตาคารระดับมิชลินสตาร์มากกว่า 120 แห่งในรอบ 10 ปี
.
อูเวเอาจริงเอาจังขนาดจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการทำภัตตาคารระดับมิชลินสตาร์มาเป็นผู้บริหารงาน โดยตั้งชื่อร้านว่า Bauhaus ที่เน้นอาหารเยอรมัน ประเดิมสาขาแรกที่แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ในปี 2015
.
เมื่อมีแววว่าจะรุ่ง เขาและภรรยาจึงร่วมกันวางแผนขยายสาขาออกไป
.
อาหารในร้านเป็นอย่างไรน่ะหรือ? Bauhaus ได้รับคำวิจารณ์ในระดับยอดเยี่ยม ทั้งจากนักชิมท้องถิ่นและนานาชาติ ในปี 2016 ได้รับการจัดอันดับให้เป็นภัตตาคารอันดับ 37 จากลิสต์ภัตตาคารชั้นเลิศ 100 แห่งในแคนาดา และเมื่อปี 2017 ยังเดินหน้าไปติดลิสต์ 1 ใน 50 ของ The Diners Club ที่จัดอันดับทั่วโลก ซึ่งในแคนาดามีติดอันดับแค่ 3 แห่งเท่านั้น
.
นั่นเป็นครั้งแรกที่ได้อูเว โบลล์ ได้รับคำวิจารณ์ที่ดี น่าจะทำให้ปลดแอกอะไรบางอย่างจากชีวิตไปได้ และหวังว่าคงไม่ต้องไปท้าต่อยกับใครอีก
.
เรื่องโดย: วิโรจน์ สุทธิสีมา
.
ข้อมูลประกอบการเขียน
http://www.factfiend.com/that-time-uwe-boll-beat-up-a-bunc…/
https://www.geeksofdoom.com/2014/…/22/dvd-review-raging-boll
https://www.cinemablend.com/…/Uwe-Boll-Money-For-Nothing-20…
https://www.imdb.com/name/nm0093051/?ref_=tt_ov_dr
https://en.wikipedia.org/wiki/Uwe_Boll
https://www.theworlds50best.com/dis…/USA-Mid-and-Canada.html
https://www.cbc.ca/…/bri…/bauhaus-uwe-boll-50-best-1.4068136
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Raging Boll (2014)
.
อ่านเรื่องราว อูเว โบลล์ เวอร์ชันเว็บไซต์ได้ที่ https://thepeople.co/uwe-boll-fights-critics/
#ThePeople #Culture #UweBoll
「tunnel rats」的推薦目錄:
- 關於tunnel rats 在 FAP-Gamer Facebook 的精選貼文
- 關於tunnel rats 在 Head x Lover Facebook 的最讚貼文
- 關於tunnel rats 在 Vietnam tunnel rat describes one of most dangerous jobs in ... 的評價
- 關於tunnel rats 在 Tunnel Rats (The Vietnam war) - YouTube 的評價
- 關於tunnel rats 在 pmndrs/tunnel-rat: Non gratum anus rodentum - GitHub 的評價
- 關於tunnel rats 在 Tunnel Rats Music | Woodstock GA - Facebook 的評價
tunnel rats 在 Head x Lover Facebook 的最讚貼文
愛頭狸貓藏書小角落
“When I die I’ll go to heaven because I've spent my time in hell.”
-
1955-1975的越南戰爭,
講到越戰你會想到什麼?美國、反共、冷戰、反戰......
還是大家所熟悉的M65?
-
相較於背課文式的死板無趣
這本書有豐富的插圖、史料、紀實照片,
戰地記者將這些照片拍下、
在1965-1973年間超過三分之一的美國士兵犧牲、
平均年齡只有19-20,大多數都未婚、
為了適應越南熱帶雨林的環境,98%的shirt, fatigue uniform都有防蚊效果
只拿著手槍、刀等武器在越軍地道中作戰的特殊非正式部隊tunnel rats、
1973美國撤出越南,尼克森總統說“honor with peace”,但戰爭還沒結束.....
-
讀歷史可能曾是你高中的惡夢,
但這一次你可以為了自己所愛而讀
在入冬穿起軍裝前,來翻翻熱騰騰的他吧!
tunnel rats 在 Tunnel Rats (The Vietnam war) - YouTube 的推薦與評價
Please consider supporting our videos on Patreonhttps://www.patreon.com/simplehistoryTo clear out the dangerous enemy tunnels, ... ... <看更多>
tunnel rats 在 pmndrs/tunnel-rat: Non gratum anus rodentum - GitHub 的推薦與評價
Tunnel Rat · Digs tunnels for React elements to go in and appear somewhere else! · Works across separate renderers – use it to easily render HTML elements from ... ... <看更多>
tunnel rats 在 Vietnam tunnel rat describes one of most dangerous jobs in ... 的推薦與評價
Sam Nelson is proud of his service in Vietnam. But he had one of the most dangerous jobs there. Now, a Purple Heart recipient, he tells what ... ... <看更多>